There's something about money.

About

20/4/57

On 05:34 by Moneytips in , ,    No comments

พ.ร.บ. รถยนต์

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ทุกๆปีคุณต้องทำ พ.ร.บ.รถ ใช่หรือไม่? คุณเคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถหรือไม่  เชื่อได้ว่าหลายท่านอาจยังไม่ทราบเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ พ.ร.บ. ถึงสิทธิ์คุ้มครองต่างๆ วันนี้จึงขอนำตัวอย่างคำถาม หรือข้อสงสัยมาตอบคำถามกัน เพื่อให้เข้าใจและรู้จัก พ.ร.บ.รถ ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ


Q: พ.ร.บ.รถ คืออะไร ?
A: พ.ร.บ. ย่อมาจาก  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535  ซึ่งเป็นการทำประกันสุขภาพตัวหนึ่งที่บังคับโดยรัฐตามกฎหมาย ให้ประชาชนทุกคนที่ใช้รถ หรือพาหนะ ต้องทำประกันสุขภาพตัวนี้ทุกปี

Q:คุณจะได้อะไรจากการทำ พ.ร.บ.รถ?
A:เนื่องจากการขับยานยนต์ เป็นเงื่อนไขที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการทำ พ.ร.บ.รถ จึงเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะการเกิดเหตุการณ์ในแต่ละครั้ง มักจะเกิดความสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ดังนั้นคุณจะได้มีประกันที่ช่วยคุ้มครองในด้านนี้มากยิ่งขึ้น

Q: ใครเป็นผู้ได้รับสิทธิ์คุ้มครองจาก พ.ร.บ. บ้าง?
A: ผู้ได้รับสิทธิ์จะมี 2 ส่วน ดังนี้
1. ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ ไม่ว่าจะอยู่ในรถ หรือนอกรถก็ตาม
2. ผู้ขับขี่รถ/เจ้าของรถ/คนที่นั่งอยู่ในรถที่ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่ / บุคคลที่อยู่ภายนอกรถ หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น

Q:เมื่อเกิดเหตุการณ์ คุณจะได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง และเท่าไร?
A: ความเสี่ยหายที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่
1. ค่าเสียหายเบื้องต้นต่อราย (ทุกคนได้เท่ากัน)
1.1 กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
1.2 กรณีเสียชีวิตทันที จ่าย 50,000 บาท
1.3 กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา จะได้ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาทและค่าปลงศพ 35,000 บาท
2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (หากผู้ประสบภัยไม่ได้เป็นฝ่ายผิด)
2.1 กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
1.2 กรณีเสียชีวิตทันที สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพบภาพอย่างถาวร จ่ายรวม 100,000 บาท
1.3 กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา จ่ายค่าเสียหายรวม 100,000 บาท
คำถามเหล่านี้ อาจมีหลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นคนที่ขับรถเป็นผู้ทำ พ.ร.บ. รวมทั้งคนที่ไม่ได้ขับรถ ซึ่งถ้าคุณรู้สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้สิทธิ์คุ้มครองได้อย่างถูกต้องค่ะ อย่าเพียงแต่รู้ว่าต้องทำ และทำตามกฎหมายเลยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณรู้จัก พ.ร.บ.รถ ดีแล้วหรือยัง?

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น